StarCat 11

PRODUCTS
StarCat 11

All the right  Features for
effective device management.

Hybrid Workspace

ในยุค New Normal ที่ผนวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีช่วยให้การทำงานเกิดขึ้นได้จากทุกที่ ธุรกิจจำนวนมากเปลี่ยนรูปแบบการทำงานของพนักงาน ไม่ว่าจะเป็นการ Work from Home/Anywhere หรือ Hybrid Workspace การสนับสนุนของฝ่ายไอทีจึงไม่ได้อยู่แค่ภายในองค์กรอีกต่อไป StarCat รองรับการบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายได้จากทุกที่ผ่านเครือข่าย ไม่ว่าจะเป็นเครือข่ายภายในองค์กรทั้งส่วนกลางและสาขา หรือเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบยังคงสามารถติดตามสถานะ เก็บข้อมูลทรัพย์สิน ติดตั้งโปรแกรม หรือการสนับสนุนและแก้ไขปัญหาได้จากระยะไกล เช่นเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ไอที ที่สามารถบริหารจัดการเครื่องลูกข่ายได้ แม้ว่าจะไม่ได้อยู่ในองค์กร การแก้ไขปัญหาเร่งด่วน จึงสามารถทำได้รวดเร็ว ทันที ลดระยะเวลารอคอยการแก้ปัญหาได้เป็นอย่างมาก

Client Location

เมื่อเครื่องลูกข่ายมีการใช้งานนอกองค์กรในหลายสถานที่ ไม่ว่าจะเป็นการ Work from home การทำงานนอกสถานที่ หรือองค์กรที่มีสำนักงานสาขา ทำให้การดูแลควบคุมทรัพย์สินของผู้ดูแลที่ส่วนกลางทำได้ยากยิ่งขึ้น StarCat ทำการเก็บข้อมูลพิกัดจาก Location Service* ทำให้ผู้ดูแลทรัพย์สิน ทราบถึงสถานที่ติดตั้งหรือใช้งานเครื่องลูกข่ายได้ โดยระบบจะบันทึกข้อมูล Latitude และ Longitude และสามารถแสดงหมุดที่ตั้งของอุปกรณ์ได้ บนมุมมองแผนที่ของโปรแกรมคอนโซล

Asset Management

การบริหารจัดการทรัพย์สิน เป็นงานพื้นฐานที่สำคัญในการจัดการองค์กร โดยเฉพาะทรัพย์สินทางด้านไอที ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำงานยุคปัจจุบัน StarCat จึงได้จัดเตรียมเครื่องมือให้กับผู้ดูแล ทรัพย์สินไอที ให้สามารถจัดเก็บ รวบรวมข้อมูลทรัพย์สิน และเชื่อมโยงข้อมูลต่าง ๆ ของทรัพย์สินได้แบบรวมศูนย์ เช่น สัญญาทรัพย์สิน ใบสั่งซื้อ บริษัทคู่สัญญา ผู้ครอบครอง สถานที่ติดตั้ง สถานะของทรัพย์สิน และเครื่องมือบริหารการใช้งานทรัพย์สิน เช่น การยืม การคืน การจำหน่าย เป็นต้น พร้อมความสามารถในการอ่าน QR Code ช่วยประหยัดเวลาในการเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้งาน ผู้บริหารฝ่ายไอทีจึงรับทราบข้อมูลและรายละเอียดเกี่ยวกับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ถูกต้องชัดเจนตลอดเวลา ช่วยให้การวางแผนระบบสารสนเทศทำได้อย่างแม่นยำและมีประสิทธิภาพ

Client Inventory

ผู้ดูแลระบบจะได้รับข้อมูลอัพเดทของรายละเอียดเครื่องลูกข่ายโดยอัตโนมัติแบบเรียลไทม์ ทำให้สามารถตรวจสอบรายการฮาร์ดแวร์ที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องได้อย่างละเอียด ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อ รุ่น และหมายเลขเครื่อง (Serial Number) รายละเอียดของเมนบอร์ด/ฮาร์ดดิสก์/แรม เป็นต้น รวมถึงตรวจสอบรายการซอฟต์แวร์และระบบปฏิบัติการที่ติดตั้งในคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง โดยการอัพเดทข้อมูลที่รวดเร็ว ด้วยขนาดข้อมูลที่ต่ำกว่า 100 KB. ต่อเครื่องต่อครั้ง และการกำหนดรอบในการตรวจสอบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมของระบบเครือข่าย พร้อมทั้งสามารถแยกประเภทข้อมูลที่ต้องการตรวจสอบให้มีรอบเวลาที่ต่างกันได้ตามความต้องการ จึงทำให้ไม่ส่งผลกระทบต่อระบบเครือข่าย และเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้

Notification and Alert

ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ จะได้รับการแจ้งเตือนเมื่อมีการถอดถอนหรือติดตั้งซอฟต์แวร์ การเปลี่ยนแปลงของฮาร์ดแวร์ภายในเครื่อง รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าใด ๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยแสดงผ่านหน้าจอควบคุม หรือกำหนดให้ส่งเมล์แจ้งเตือนการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญ ช่วยในการบริหารจัดการหรือแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที

Software License Management

ผู้ดูแลระบบสามารถรวบรวมข้อมูลของการจัดหาลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ และมีเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบการติดตั้งและใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในองค์กร ทำให้มีข้อมูลเปรียบเทียบจำนวนลิขสิทธิ์และจำนวนที่ติดตั้งจริง เพื่อการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ ช่วยลดความเสี่ยงและป้องกันปัญหาทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานซอฟต์แวร์ละเมิดลิขสิทธิ์ในองค์กร พร้อมทั้งสามารถจัดเก็บประวัติการเปิดใช้งานซอฟต์แวร์ของเครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่อง เพื่อพิจารณาว่าซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์นั้นถูกใช้งานอย่างคุ้มค่าหรือไม่

Management Dashboard

กระดานสรุปข้อมูลเกี่ยวกับทรัพยากรคอมพิวเตอร์และข้อมูลต่าง ๆ ของระบบมาแสดงในรูปแบบกราฟและแผนภูมิ โดยแสดงข้อมูลแบบสรุปภาพรวม เปรียบเทียบสัดส่วน หรือวิเคราะห์แนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของระบบคอมพิวเตอร์ในองค์กร ยกตัวอย่างเช่น แสดงสัดส่วนของระบบปฏิบัติการ แสดงสัดส่วนของยี่ห้อ-รุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์แสดงข้อมูลเปรียบเทียบซอฟต์แวร์ Antivirus ยี่ห้อต่าง ๆ ที่ติดตั้งบนคอมพิวเตอร์ เป็นต้น ช่วยสนับสนุนให้ผู้บริหารฝ่ายไอทีสามารถจัดการและวางแผนงานในภาพรวมเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์ได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ

User Profile Management

การจัดเก็บรายละเอียดของผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น ชื่อ-นามสกุล, รหัสพนักงาน, แผนก, อีเมล์, เบอร์โทรศัพท์, สถานที่ติดตั้ง ได้แก่ อาคาร, ชั้น, ที่อยู่ ทำให้ทราบข้อมูลผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ช่วยติดต่อประสานงานกับผู้ใช้งานเมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นเกิดปัญหา และทำให้ทราบข้อมูลของคอมพิวเตอร์ทั้งหมดว่ามีการติดตั้งใช้งานอยู่ที่ใดบ้าง จึงง่ายต่อการติดตามควบคุม โยกย้าย หรือถ่ายโอนเครื่อง อีกทั้งยังสามารถส่งหน้าจอสำหรับรับข้อมูลเพิ่มเติมไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดเพื่อปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยและลดภาระของผู้ดูแลระบบในการปรับปรุงข้อมูล ฟีเจอร์นี้จึงทดแทนการกรอกข้อมูลลงบนกระดาษแบบเดิม ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Real-time Monitoring

ในบางกรณี ผู้ดูแลระบบอาจจะต้องทำการติดตามสถานการณ์ หรือวิเคราะห์การทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการตัดสินใจ วางแผน หรือแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้องรวดเร็ว StarCat จึงจัดเตรียมเครื่องมือในการตรวจสอบสถานะการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ได้แบบเรียลไทม์ เช่น สถานะการเปิด/ปิดเครื่องในแต่ละแผนก สถานะปัจจุบันของการใช้งาน CPU และ Memory สถานะการใช้โปรแกรมหรือโปรเซสบนเครื่อง โดยตรวจสอบได้แบบ Real-time เช่น สามารถตรวจสอบได้ว่าขณะนี้มีคอมพิวเตอร์เปิดให้บริการลูกค้าอยู่กี่เครื่อง หรือตรวจสอบคอมพิวเตอร์ที่เปิดทิ้งไว้นอกเวลางาน การตรวจสอบว่ามีซอฟต์แวร์หรือโปรเซสใดบ้างที่ใช้งาน CPU หรือ Memory สูงสุดในช่วงเวลาหนึ่ง ๆ เป็นต้น นอกจากนั้นยังสามารถตั้งค่าให้ทำการตรวจสอบเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สนใจแบบ Real-time และแจ้งเตือนเมื่อมีการทำงานผิดปกติจากระดับที่กำหนดไว้ เช่น ตรวจสอบและแจ้งเตือนเมื่อ CPU usage สูงเกินกว่า 80% เป็นต้น

System Control Function

เครื่องมือหลักสำหรับเจ้าหน้าที่สนับสนุนในการให้ความช่วยเหลือ แก้ไขปัญหาให้กับผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์ ผ่านการสั่งงานได้จากระยะไกล โดยสามารถสั่งให้คอมพิวเตอร์เครื่องใดๆ ทำการเปิด/ปิดเครื่อง, รีสตาร์ท, จับภาพหน้าจอ, ส่งไฟล์หรือโฟลเดอร์, ส่ง Windows/DOS Command, ส่งข้อความหรือแชทกับผู้ใช้งาน เป็นต้น

Remote Command & Advance Script

ฟีเจอร์ขั้นสูงสำหรับเจ้าหน้าที่ไอทีในการเขียนชุดคำสั่งเพื่อสั่งงาน ที่มีหลายขั้นตอนหรือมีความซับซ้อนไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ได้อย่างง่ายดายในขั้นตอนเดียว เช่น การเปลี่ยนหรืออัพเกรดซอฟต์แวร์ในคอมพิวเตอร์ทั้งองค์กร การติดตั้ง Patch จำนวนมากพร้อม ๆ กัน การกำจัดไวรัสที่ระบาดบนเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กร หรือการตั้งค่าระบบปฏิบัติการ (Configuration) เป็นต้น โดยสามารถกำหนดให้การทำงานแบบไม่แสดงสถานะที่เครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้งาน และกำหนด Schedule ในการทำงาน กรณีที่ต้องการสั่งงานนอกเวลา โดยไม่ต้องใช้เจ้าหน้าที่เฝ้าการทำงานได้

Remote Control & Monitoring

เมื่อมีความจำเป็นต้องแก้ไขหรือตรวจสอบปัญหาให้กับผู้ใช้อย่างเร่งด่วน ไม่ต้องกังวลว่าผู้ใช้งานอยู่ที่ใด StarCat รองรับการ Remote Control ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ปลายทางได้ทั้งบนเครือข่ายภายในองค์กร หรือบนอินเทอร์เน็ต ทำให้องค์กรไม่ต้องจัดหาเครื่องมือเพิ่มเติมสำหรับสนับสนุนการทำงานภายนอกองค์กร แม้กระทั่งเจ้าหน้าที่ไอทีที่อาจจะต้องให้ความช่วยเหลือผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ในวันหยุดหรือขณะ Work from Home ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ทำให้มั่นใจได้ว่าผู้บริหารที่ไปประชุมที่ต่างประเทศ จะได้รับความช่วยเหลือเมื่อเกิดปัญหาได้ทันที เสมือนว่าอยู่ในออฟฟิศ

Vulnerability Assessment

ฟีเจอร์ใหม่นี้จะช่วยในการประเมินและตรวจสอบช่องโหว่ต่างๆ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ขององค์กรโดยเฉพาะ โดยจะสแกนหาและระบุช่องโหว่ที่อาจถูกโจมตีจากภายนอกหรือภายใน พร้อมทั้งให้คำแนะนำในการแก้ไขเพื่อเพิ่มความปลอดภัย ฝ่ายไอทีจะสามารถใช้ฟีเจอร์นี้เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจมตี ป้องกันข้อมูลสำคัญ และเสริมสร้างความมั่นคงให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ในองค์กรได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยการทำงานร่วมกับฟีเจอร์ Patch Management

Patch Management

ฟีเจอร์บริหารจัดการแพทช์ (Patch) จะช่วยให้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีจำนวนมากและกระจายอยู่ทั่วไปในระบบเครือข่ายได้รับการติดตั้งโปรแกรมปรับปรุง (Patch) ช่วยอุดช่องโหว่ปรับปรุงข้อผิดพลาดหรือปรับปรุงคุณสมบัติของระบบปฏิบัติการวินโดวส์และโปรแกรมต่างๆ โดยมีกระบวนการในการตรวจสอบและติดตั้งอย่างมีประสิทธิภาพ ทำงานได้โดยอัตโนมัติ และดำเนินการติดตั้งปรับปรุงแพทช์ให้กับเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ในเวลาอันรวดเร็วและสนับสนุนให้ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขององค์กรมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น รวมถึงช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดขึ้นจากภัยคุกคามด้านเครือข่าย เช่น คอมพิวเตอร์ไวรัส แรนซั่มแวร์ หรือมัลแวร์ เป็นต้น

Helpdesk System

ผู้ใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแจ้งปัญหาและติดตามการแก้ไขปัญหาของการใช้งานคอมพิวเตอร์ได้อย่างสะดวกรวดเร็วผ่านเว็บเบราว์เซอร์ โดยเรียกใช้งานผ่าน Client Utility ที่มาพร้อมกับ Agent ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ โดยเจ้าหน้าที่ไอทีจะมีระบบกลางในการรวบรวมคำขอแก้ไขปัญหาต่าง ๆ และบริหารจัดการคำขอได้อย่างมีระบบ ตามมาตรฐานของการให้บริการด้านไอที (IT Service Management) โดยสามารถกำหนดระดับความสำคัญ (Priority) กระจายงานโดยผู้ดูแลหรือตามเงื่อนไข (Business Rule) ระดับคุณภาพการให้บริการ (Service Level Agreement) รวมไปถึงการวัดผลความพึงพอใจในการรับบริการ (User Survey) ได้ เป็นต้น

Report

ระบบจัดทำรายงาน ซึ่งมีรูปแบบรายงานเกี่ยวกับทรัพย์สินและการใช้งานคอมพิวเตอร์ที่มีประโยชน์ต่อการบริหารระบบ เช่น รายงานแสดงสัดส่วนการใช้ระบบปฏิบัติการ รายงานแสดงสัดส่วนของยี่ห้อเครื่องคอมพิวเตอร์ในสำนักงาน รายงานแสดงสัดส่วนระหว่างจำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์เดสก์ทอป โน้ตบุ๊ก และเซิร์ฟเวอร์ รายงานการแจ้งเตือนการตรวจพบ สูญหาย หรือเปลี่ยนแปลงของอุปกรณ์ในเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ รวมถึงรายงานประวัติและสถิติการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ เป็นต้น โดยนำออกรายงานได้หลาย format เช่น word, excel, pdf พร้อมทั้งเครื่องมือในการสร้างรายงานใหม่ได้โดยเจ้าหน้าที่ และสามารถกำหนด Schedule ในการออกรายงานอัตโนมัติ และจัดส่งไปยังอีเมล์ของผู้ดูแลระบบที่ต้องการ แบบรายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน เป็นต้น